เหล็กจ๊อยท์ เหล็กโดเวล หรือ เหล็กเสียบถนน
เหล็กจ๊อยท์ เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในงานโครงสร้าง
- เพื่อช่วยรับแรงดึง
- ช่วยกระจายการรับน้ำหนัก
- ช่วยพยุงตัวไม่ให้คอนกรีตแผ่นใดแผ่นหนึ่งต้องรับน้ำหนักมากเกินไป
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- เหล็กเส้นกลม (เหล็กเดือย) Dowel Bar เป็นเหล็กเส้นกลมตัดเป็นท่อน เพื่อเสริมรอยต่อระหว่างแผ่นพื้นถนนคอนกรีตตามแนวกว้าง เพื่อกระจายน้ำหนักระหว่างแผ่นพื้นช่วย ป้องกันการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันในขณะที่ไม่ขัดขวางการยีดหดตัวระหว่างแผ่นพื้น ซึ่งโดยมากจะออกแบบให้เหล็กเดือยอยู่ตรงบริเวณรอยต่อบังคับรอยแตก ดังนี้
- รอยต่อเพื่อการบังคับรอยแตก เมื่อเราเทพื้นคอนกรีต ในระหว่างการแข็งตัวของคอนกรีต ภายในเนื้อของคอนกรีต จะเกิดการเสียน้ำและหดตัวขึ้น หากไม่มีการใช้เหล็กโดเวลเพื่อบังคับรอยแตก จะเกิดการแตกแบบสุ่มไปทั่วบริเวณพื้นคอนกรีตทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ จึงมีการนิยมใช้การสร้างแนวคอนกรีตที่อ่อนแอกว่าส่วนอื่น เพื่อให้รอยแตกหรือรอยร้าวเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ต้องการ โดยใช้เลื่อยตัดคอนกรีต หรือใช้แผ่นโฟม หรือแผ่นพลาสติก ใส่เข้าไปในแบบก่อนเทคอนกรีต โดยปกติระยะกห่างรอยต่อประเภทนี้จะอยู่ที่ไม่เกิน 12 เมตร
- รอยต่อการก่อสร้าง ในการเทคอนกรีตที่เทไม่เสร็จในระยะเวลา 1 วัน และต้องเทคอนกรีตต่อในวันถัดไป รอยต่อการก่อสร้างแบบนี้จะออกแบบมาให้เป็นผืนเดียวกันกับรอยต่อเพื่อบังคับรอยแตก การเสริมเหล็กเดือยหรือเหล็กโดเวลในคอนกรีต จะช่วยให้กระจายแรงจากพื้นคอนกรีตแต่ละแผ่นให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นผืนใหญ่ได้ ช่วยให้พื้นคอนกรีตรับน้ำหนักได้ดีขึ้นด้วย
- เหล็กข้ออ้อย (เหล็กยึด) Tie Bar เป็นเหล็กเส้นข้ออ้อย ตัดเป็นท่อน เสริมรอยต่อระหว่างพื้นถนนคอนกรีต ตามแนวยาว เพื่อช่วยเชื่อมให้แผ่นพื้นที่อยู่ติดกันให้เสมือนเป็นผืนแผ่นเดียวกัน ไม่แยกตัวออกจากกัน
มีความยาวมาตราฐาน 5 ซม. แต่สามารถตัดตามขนาดที่ต้องการได้
การใช้งาน สำหรับใช้ในการก่อสร้างถนนคอนกรีตเพื่อเสริมรอยต่อและเพื่อบังคับรอยแตกให้อยู่ในจุดที่กำหนด หากพื้นถนนที่ไม่ได้เสริมด้วยเหล็กจ๊อยท์ เมื่อคอนกรีตหดตัว จะทำให้รอยแตกกระจายไปทั่วและทำให้โครงสร้างสูญเสียสมดุลและความแข็งแรง
- DOWEL REBAR สำหรับโครงสร้างหลัก เช่น ใช้ยึดเสาเข็มกับฐานราก, ใช้ยึดเสากับคาน, ใช้ยึดพื้นกับคาน, ใช้ยึดคานอะเสกับคานจันทันโครงหลังคา, ใช้ยึดบันไดกับคานหรือผนังรับแรง, ใช้ยึดแผ่นถนนกับแผ่นถนนถัดไป
- Tie Bar สำหรับโครงสร้างรอง เช่น ใช้ยึดเสาเอ็นกับพื้นหรือคาน, ใช้ยึดทับหลังกับเสาหรือผนังหรือเสาเอ็น, ใช้ยึดผนังก่ออิฐกับพื้นหรือเสาหรือผนังด้วยกัน